สมุนไพรขับไล่แมลง
สารกำจัดศัตรูพืช ทำจากน้ำสกัดชีวภาพที่ทำการหมักผลไม้ผสมสมุนไพร ซึ่งน้ำสกัด ชีวภาพอย่างเดียวไม่ใช่ยาปราบศัตรูพืช แต่จะให้ความต้านทานแก่พืชเพื่อสู้กับศัตรูพืช โรคและแมลง ไม่ มารบกวน ถ้าได้รับอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลดียิ่งขึ้น
วิธีทำ
1. วิธีทำน้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและรักษาศัตรูพืช ก็เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ใช้ผลไม้หมักทั้งหมด ผลไม้ใช้ได้ทั้งดิบและสุก หรือเปลือกผลไม้ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงหิมพานต์ จะยิ่งดี
2. สมุนไพรที่ต้องการใช้ร่วมกับน้ำสกัดชีวภาพ ได้แก่ ใบสะเดา ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า และยาสูบ เป็นต้น นำมาทุบ หรือตำให้แตก ใส่น้ำ ให้ท่วม หมักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพร นำไปกรอง เอาแต่น้ำ
วิธีใช้
1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราน้ำสกัด 1 ส่วนน้ำสมุนไพร 1 ส่วน และน้ำ 200-500 ส่วน
2. ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเพิ่มใช้หลังต้นพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน
3. ควรให้ในตอนเช้า หรือหลังฝนตกและให้อย่างสม่ำเสมอ
สะเดา
สะเดาไทย สะเดาอินเดีย สะเดาช้าง (สะเลียม) Azadirachta indica A.Juss.var.siamensis Val.
วิธีเตรียมและการใช้
ใช้เมล็ด
1. นำเมล็ดสะเดาที่แห้งแล้ว 1 กก. หรือบด โขลกละเอียด
2. นำเอาผงเมล็ดที่ได้มาแช่น้ำ 20 ลิตร (1 บ) ทิ้งไว้นาน 12-24 ชม. แล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ ส่วนกากสามารถใช้ทำปุ๋ยได้
3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์ หรือแชมพู ลงในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 20 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุก 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ใช้ใบ
1. ต้องใบสะเดาที่สุด (ใบสดจะมีสีเขียวเข้ม) ไม่น้อยกว่า 2 กก.
2. บดหรือโขลกใบสะเดาให้ละเอียด ก่อนนำไปแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชม.
3. ก่อนนำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่น แฟบ ซันไลด์ หรือแชมพู ลงในอัตตราส่วน1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ศัตรูเป้าหมาย
ด้วงหมักผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล ผีเสื้อ มวนหวาน หนอนกอสีครีม หนอนกอหนอนเจาะบัว ลําต้นลายจุดในข้าวโพด ข้าวฟ่าง หนอนมวนใบข้าว หนอนชอนใบส้ม หนอนกระทู้กัดต้น หนอนกระทู้ด้วยควายพระอินทร์ หนอนใยกะหล่ํา ด้วงเต่า ฟักทอง หนอนใยผัก ตกแตน ไส้เดือนฝอย แมลงในโรงเก็บ
การเก็บเมล็ดสะเดาแห้ง
1. เก็บผลสะเดาที่แก่จัดเต็มที่ นำมาถูหรือขยี้กับทรายหรือตระแกรงหรือกระดังเพื่อให้ เนื้อหลุดออกไป หรือใช้เครื่องกะเทาะเนื้อออกจากเมล็ด
2. นำไปฝั่งแดดประมาณ 2-3 วัน และฝั่งลมต่อให้แห้งประมาณ 2-3 วัน ไม่ควรตากเมล็ดในแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เมล็ดมีคุณภาพลดลง
3. นำเมล็ดแห้งบรรจุในตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบหรือภาชนะที่ระบายความชื้นได้ดี ถ้ามีเมล็ดที่ขึ้นราให้แยกออก และนำที่เหลือไปพึ่งให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง
ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม (จะไค) Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำตะไคร้หอม ใช้ได้ทั้งเหง้าและใบนั่นเป็นชิ้นเล็กแล้วบดหรือโขลกให้ละเอียดจํานวน 400 กรัม
2. ผสมลงในน้ำ 8 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์หรือแชมพูลงในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
ศัตรูเป้าหมาย
หนอนกระทู้ หนอนใยผัก
บอระเพ็ด
บอระเพ็ด (จุ่มจะลิง) Tinosopora rumphi
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำเถาบอระเพ็ดสด 5 กก. นั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำ 12 ลิตร ทิ้งไว้นาน 2 ชม.
3. กรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่นแป๊บซันไลด์หรือแชมพูลงในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ10ลิตร
5. ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง) เวลามีปัญหาศัตรูพืช
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดข้าว โรคข้าวตายพราย โรคข้าวลีบ
ละหุ่ง
ละหุ่ง (มะโห่ง) Ricinus communis.
วิธีเตรียมการใช้
ทำการปลูกพืชละทุ่งเป็นแนวรอบสวน ใช้ป้องกันศัตรูพืชเช่นแมงกะชอนหนูปลวกไส้เดือนฝอย
มะรุม
มะรุม (มะค้อนก้อม) Moringa oleifera
วิธีเตรียมและการใช้
นำใบของมะรุมมาผสมคลุกเคล้าในดินที่เตรียมไว้ก่อนจะปลูกพืช หลังจากนั้นทิ้งไว้นาน 1 อาทิตย์ เพื่อให้สารที่อยู่ในใบของมะรุมออกฤทธิ์เมื่อใบเน่าเปื่อย สารในใบมะรุมจะช่วยยับยั้งการเจริญ ของเชื้อราได้ดี
หนอนตายหยาก
หนอนตายหยาก Stemona tuberose Lour.
วิธีเตรียมและการใช้
นำรากมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ พึ่งให้แห้ง ชั่งให้ได้ 200 กรัม หมักในน้ำ 1 ลิตร ทิ้งค้างคืนเอนหลอดหอม
ไหลน้ำ หางไหลแดง
ไหลน้ำ หางไหลแดงหรือโล่ติน Derris elliptica (Roxb.) Benth.
ลักษณะ
เป็นไม้เลื้อยเป็นพุ่มขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ โดยการปักชํา มีสารโรติโนนที่ราก ซึ่งมีผลทำ ให้แมลงหายใจได้น้อยมาก
วิธีใช้
นำรากสดมาล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อน ๆ บดให้ละเอียด ผสมสบู่และน้ำเล็กน้อย ทิ้งไว้ 48 ชม. แล้วนำมากรอง (สบู่จะช่วยให้สารโรติโนนละลายน้ำได้ดีขึ้น)
อัตราที่ใช้
สบู่ 1 ส่วน : ราก 4 ส่วน : น้ำ 225 ส่วนหรือใช้หางไหลแดงแห้งบดละเอียด คือ ผงหาง ไหลแดง 1 กก.: น้ำ 100 ลิตรและเติมสบู่ 500 กรัม
ว่านน้ำ
ว่านน้ำ (ฮาวคางน้ำ) Acorus calamus.
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำเหง้าว่านน้ำจํานวน 30 กรัม มาบดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 หยด
5. ใช้ฉีดหรือพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง) เวลามีปัญหาใช้กำจัดศัตรูพืช
ศัตรูเป้าหมาย
แมลงวันแดง แมลงวันทอง ด้วงหมักผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงข้าว ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอดตัวป้อม มอดข้าวเปลือก แมลงกัดกินผัก
สาบเสือ
สาบเสือ (หญ้าเมียงวาย) Eupatorium odortum L.
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำใบสาบเสือจํานวน 1 กก. บดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำในอัตราส่วน ใบสด 1 กก./น้ำ 5 ลิตร หรือใบแห้ง 1 กก. น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชม.
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ เน้ํา 5 ลิตร หรือ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 20 ลิตร
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันในช่วงเวลาเย็น
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้กัดต้น หนอน กระทู้ควายพระอินทร์ หนอนใยผัก
หมายเหตุ
เป็นพิษต่อปลา
พริก / พริกไทย
พริก / พริกไทย Capiscum frutescens / Piper nigrum L.
วิธีเตรียมและการใช้
1. พริกบด หรือพริกไทย 100 กรัม
2. นำพริก หรือพริกไทยที่บดแล้วผสมน้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 24 ชม.
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. เติมน้ำลงไปอีก 1 ลิตร
5. ก่อนใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์ หรือแชมพูลงไป 1 หยด แล้วนำไป ฉีดทุกๆ 7 วัน
ศัตรูเป้าหมาย
มดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข้ง หนอนกะหล่ําปลี ด้วงใบขาว
ยาสูบ
ยาสูบ Nicotiana tabacum L.
ประสิทธิภาพ
- เป็นพิษทางสัมผัส ทางกระเพาะ และทางระบบหายใจ
- เป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลงและฆ่าไร
วิธีใช้
แช่ก้านและยาสูบที่ตำให้ละเอียด 1 กก. ในน้ำ 5 ลิตร นาน 1 วัน เติมผงสบู่ 1 กำมือ กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นทันที
ดอกดาวเรือง
ดอกดาวเรือง (ดอกคําฐ) Tagetes erecta L.
วิธีเตรียมและการใช้
1. นำดอกดาวเรืองจํานวน 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร
2. ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
.3. ผสมน้ำลงไปอีก 4 ลิตร
4. ก่อนนำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
5. ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน) เวลามีปัญหากับศัตรูพืช
ศัตรูเป้าหมาย
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ ตกแตน หนอนผีเสื้อ กะโหลก หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย หนอนกะหล่ําปลี ด้วงปีกแข็ง
มะเขือเทศ
มะเขือเทศ มะเขือส้ม) Lycopersicon esculentum
วิธีเตรีมและการใช้
1. ใช้ใบสดของมะเขือเทศ 3 กรัม บดหรือโขลกให้ละเอียดผสมน้ำ 5 ลิตร หรือใช้ใบสด 2 กำมือพูน ๆ บดหรือโขลกให้ละเอียด ผสมน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน 2 ลิตร
2. ผสมน้ำทิ้งไว้ 5 ชม.
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
4. ก่อนนำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 หยด
5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 2 วัน
ศัตรูเป้าหมาย
ด้วงหมักผล ด้วงหน่อไม้ฝรั่ง แมลงวันทั่วไป ไรแดง หนอนเจาะลําต้นลายจุด หนอนผีเสื้อ หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย
กระเทียม
กระเทียม หอมเทียม) Alium sativum L.
วิธีเตรียมการและการใช้
น้ำสําหรับฉีดพ่น
1. ใช้กระเทียม 1 กำมือใหญ่ บดหรือโขลกให้ละเอียด
2. เติมน้ำร้อน ครึ่งลิตรทิ้งไว้ประมาณ 24 ชม. แล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าบาง ๆ
3. ผสมน้ำเกลือลงไปอี 4 ลิตร
4. ก่อนนำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่น แฟบ ซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วน ครึ่งช้อนโต๊ะ
5. ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (พ่นวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในช่วงเวลาเช้า)
ผงสําหรับโรย
1. ใช้กระเทียมแกะกลีบ 1 มือพูน ๆ ตากแดดให้แห้ง
2. บดหรือโขลกกระเทียมให้เป็นผง
3. นำผงที่ได้ไปใช้กำจัดศัตรูพืช ใช้โรยบนพืชผักที่มีปัญหา โรยในเวลาที่พืชผักไม่เปียก
ศัตรูเป้าหมาย
ด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม
น้อยหน่า
น้อยหน่า (มะน้อแน้) Anona squamosa Linn.
วิธีเตรียมและการใช้
ใช้เมล็ด
1. นำเมล็ดน้อยหน่าที่แห้งแล้ว 1 กก.บดหรือโขลกให้ละเอียด
2. เอาผงเมล็ดที่ได้มาแช่น้ำ 10 ลิตร (1ปีบ) ทิ้งไว้นาน 12-24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าบางๆ
3.ก่อนนำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่นแฟ้บซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วนหนึ่งช้อนโต๊ะ /น้ำ 10 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ใช้ใบ
1. ต้องใช้ใบน้อยหน่าที่สุด (ใบสดจะมีสีเขียวเข้ม)
2. บดหรือโขลกใบน้อยหน่าให้ละเอียดก่อนนำไปแช่ในน้ำ ทิ้งไว้นาน 24 ชม.
3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลด์หรือแชมพู ในอัตราส่วน หนึ่งช้อน โต๊ะ น้ำ 10 ลิตร
4. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ศัตรูเป้าหมาย
ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย ด้วงเต่าฟักทอง มวน หนอนใยผัก หนอนทั่วไป มอดแป้ง